วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางการพัฒนา Java ( ด้านการเลือกใช้อิดิเตอร์ )



         ด้านการเลือกใช้อิดิเตอร์ (Editor) การเลือกอิดิเตอร์ที่จะใช้สำหรับเขียนโปรแกรมภาษาจาวา สามารถเลือกได้หลากหลาย เช่น
         1) โปรแกรมโน้ตแพด (NotePad) จะมาพร้อมกับการติดตั้งวินโดว์ (Windows) การใช้งานมีข้อเสียคือไม่แสดงหมายเลขบรรทัด (line number) ทำให้ไม่สะดวกในการแก้ไขข้อผิดพลาด (Error) ที่เกิดในแต่ละบรรทัด
         2 ) โปรแกรมอีดิทพลัส (Editplus) รองรับการเขียนโปรแกรมได้หลายภาษา เช่น เอชทีเอ็มแอล (HTML) ซีและซีพลัสพลัส (C/C++) เพิร์ล (Perl) และ จาวา (Java) เป็นโปรแกรมที่เขียนโค้ดได้เฉพาะที่เป็นข้อความ (Text Editor) ใช้งานง่ายสามารถดาวน์โหลดเพื่อทดลองใช้งานได้ที่เว็บไซต์ www.editplus.com
         3) โปรแกรมบลูเจ (BlueJ) พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเดนมาร์ค เมื่อทำการเขียนโปรแกรมอิดิเตอร์ (Editor) ชนิดนี้ จะสร้างคลาสไดอะแกรม (Class Diagram) ของโปรแกรมนั้นและยังเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับคลาสอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่มีข้อเสียคือโปรแกรมทำงานได้ค่อนข้างช้า สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่เว็บไซต์ http://www.bluej.org
        4) โปรแกรมบอร์แลนด์เจบิลเดอร์ (Borland Jbuilder) เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทบอร์แลนด์จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมแลดูง่ายขึ้น เนื่องจากมีคอมโพเน้นท์ (Component) ให้เลือกใช้มากมายเช่นเดียวกับการเขียนโปรแกรมประเภทวิสชวล (Visual) ภาษาอื่น ๆ แต่มีค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์ค่อนข้างสูง สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อทดลองใช้งานได้ที่ www.borland.com
        5) โปรแกรมซันวันสตูดิโอ (Sun One Studio) เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทซันไมโครซีสเทิม (Sun Microsystem) ผู้พัฒนาภาษาจาวา อย่าลืมว่าถึงแม้จาวาจะเป็นโปรแกรมโอเพินซอร์ส (Open Source) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิดิเตอร์สำหรับใช้เขียนจาวานั้นจะไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงสามารถ ดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อทดลองใช้งานได้ที่เว็บไซต์ http://java.sun.com เมื่อเกิดความพึงพอใจที่จะใช้งานต่อก็สามารถจ่ายเงินซื้ออิดิเตอร์ดังกล่าว และ
       6)โปรแกรมเน็ตบีนส์ (NetBeans) ช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและเร็วขึ้น เหมาะสำหรับการใช้สวิง (Swing) และสร้างการโต้ตอบแบบจียูไอ (GUI) สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อใช้งานได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.netbeans.org
       จากที่กล่าวมาแล้วนั้น ในขั้นตอนแรกของการเริ่มต้นเขียนจาวา สามารถเริ่มเขียนภายใต้โปรแกรมด้วยอิดิทพลัส (Editplus) เพราะจะทำให้เข้าใจหลักการและโครงสร้างของภาษาจาวาได้ดี หลังจากนั้นอาจ เปลี่ยนอิดิเตอร์ไปใช้โปรแกรม เน็ตบีนส์ (NetBeans) เนื่องจากจะช่วยย่นระยะเวลาในการเขียนโปรแกรมให้เร็วขึ้น แสดงภาพตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจากทั้งสองอิดิเตอร์ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 แสดงหน้าจอการเขียนจาวาด้วยโปรแกรมอิดิทพลัส (Editplus) กับโปรแกรมเน็ตบีนส์ (NetBeans)

         จากรูปที่ 3 ด้านซ้ายมือเป็นการเขียนจาวาด้วยโปรแกรมอิดิทพลัส (Editplus) ซึ่งการใช้โปรแกรมชนิดนี้นักพัฒนาจะต้องเขียนชุดคำสั่งทั้งหมดด้วยตนเองโดยพิมพ์ได้เฉพาะข้อความเท่านั้น (Text Editor)   ดังนั้นจึงใช้เวลานานในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น (Application) เมื่อพิมพ์คำสั่งเป็นที่เรียบร้อยจากนั้นจึงสั่งแปล (Compile)และรัน (Run) โปรแกรมเพื่อแสดงผลลัพธ์ ส่วนรูปด้านขวามือเป็นการเขียนจาวาด้วยโปรแกรมเน็ตบีนส์ (NetBeans) จะช่วยประหยัดเวลาให้กับนักพัฒนาเพราะมีเครื่องมือต่าง ๆ ในลักษณะของวิสชวล (Visual) ให้เลือกใช้ระหว่างการออกแบบ และลดจำนวนของการเขียนโค้ดให้น้อยลงเนื่องจากโค้ดใดที่เป็นคำสั่งในโครงสร้างพื้นฐานของจาวาโปรแกรมเน็ตบีนส์จะทำการสร้าง (Generate) ให้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นนักพัฒนาเพียงแต่เพิมเติมชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมเหตุการณ์ (Event) ในการทำงานเท่านั้น
         หลังจากที่มีพื้นฐานการเขียนจาวาโปรแกรมมิง (Java Programming) แล้ว หากต้องการเพิ่มขีดความสามารถโดยการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือบนเว็บก็สามารถดาวน์โหลด  โปรแกรมเน็ตบีนส์ (NetBeans) สำหรับจาวา J2EE และจาวา J2ME สำหรับเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ หรือถ้าต้องการเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือโดยไม่ใช้โปรแกรมเน็ตบีนส์ (NetBeans) ก็สามารถติดตั้งโปรแกรม J2ME Wireless Toolkit 2.1 ซึ่งจะมี KToolbar สำหรับสร้างโปรเจ็ค (Project) บิลด์ (Build) และ รันโปรเจ็ค (Run project) โดยจะแสดงผลลัพธ์ของชุดคำสั่งที่เขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือที่โปรแกรมมือถือจำลอง (Emulator) แต่ก็ยังคงต้องอาศัยการเขียนโค้ดในโปรแกรม อิดิทพลัส (Editplus) เช่นเดิมแสดงตัวอย่างองค์ประกอบบางส่วนของการเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 องค์ประกอบบางส่วนของการเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ

          จากรูปที่ 4 เป็นการเขียนโปรแกรมจาวาบนโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ J2ME Wireless Toolkit 2.1 เป็นโปรแกรมอิดิเตอร์ ซึ่งเมื่อติดตั้งอิดิเตอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้วจะปรากฏ Wireless Toolkit ที่สตาร์ทเมนู ( Start Menu) พร้อมกับโปรมแกรมที่เกี่ยวข้อง โดยนักพัฒนาสามารถเลือกคำสั่ง KToolbar เพื่อเริ่มต้นการเขียนโปรแกรมจาวาบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อเข้าไปในอิดิเตอร์ของ Ktoolbar แล้วสามารถสร้างโปรเจ็ค (Project) เพื่อเริ่มงานโปรแกรม เมื่อนักพัฒนาสร้างโปรเจ็คเป็นที่เรียบร้อย เครื่องจะทำการสร้างโฟลเดอร์ (Folder) ตามชื่อของโปรเจ็คสำหรับเก็บโปรแกรมที่จะถูกสร้างขึ้นในภายหลัง จากให้ผู้พัฒนาจะต้องทำการย้ายโปรแกรมที่มีส่วนขยาย (.java) ที่เขียนไว้แล้วในโปรแกรมอิดิทพลัส (Editplus) ไปเก็บไว้ที่ ไดเรคทอรี่ C:\WTK21\apps\ตาชื่อโฟลเดอร์ของโปรเจ็คที่สร้าง\scr จากนั้นสลับหน้าจอกลับมาที่หน้าต่างของโปรแกรมอิดิเตอร์ Ktoolbar แล้วคลิก (Click) ที่ปุ่มบิลด์ (Build) และปุ่มรัน (Run) เพื่อแสดงผลลัพธ์ของโปรแกรมภายใต้หน้าจอโทรศัพท์จำลอง (Emulator)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น