วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางการพัฒนา Java ( ด้านหลักสูตร )



            ด้านหลักสูตร ในปัจจุบันพบว่า จาวาเป็นอีกหนึ่งภาษาเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยมไม้แพ้
ภาษาที่อยู่ในตระกูลดอทเน็ต (.NET) และตลาดงานก็มีความต้องการนักพัฒนาโปรแกรมที่สามารถเขียนภาษานี้ได้ อีกทั้งมีอัตราค่าจ้างสูง แต่ยังขาดแคลนผู้ที่มีความสามารถในภาษานี้ค่อนข้างมาก

       ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เปิดสอนในหลักสูตร ปวช. ปวส. ปริญญาตรี หรือปริญญาโท ก็ได้พยายามนำเอาภาษานี้บรรจุเข้าไปในรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม หรือบรรจุลงในรายวิชาที่เกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล หรืออาจจะเป็นวิชาเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ ล้วนแล้วแต่สามารถทำได้ทั้งสิ้น และนั่นก็นับเป็นโอกาสอันดีของนักศึกษาในรุ่นนั้น ๆ ที่มีโอกาสได้เรียนรู้โปรแกรมภาษาใหม่ ๆ แต่สำหรับผู้ที่จบการศึกษาในหลักสูตรเก่า ความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมที่เรียนมา จึงล้วนเป็นการโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structure Programming) เช่น โปรแกรมฟอคซ์โปร (FoxPro) ปาสคาล(Pascal) ฟลอแทรน(Fortran) อินฟอร์มิคซ์ (Informix) ดีเบส (dBase) และ พาราดอคซ์ (Paradox) อาจเกิดความล้าสมัยจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนในทางปฏิบัติ ผู้ที่ทำงานในสายอาชีพด้านเขียนโปรแกรมอยู่แล้ว คงมากด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ดังนั้นการที่จะเรียนรู้ภาษาใหม่เพิ่มอีกหนึ่งภาษา คงไม่ยากนัก แต่สิ่งที่อาจเป็นปัญหาได้คือ ความไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงความเคยชินของตนเอง เมื่อเราใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งจนเกิดความคล่องแคล่ว เขียนโปรแกรมด้วยความคุ้นเคยและหลงรักในภาษานั้น เราอาจกลัวกับการที่ต้องเริ่มต้นใหม่กับภาษาอื่นที่ไม่คุ้นเคย ในทางกลับกันบัณฑิตที่จบใหม่ด้วยหลักสูตรเก่า ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสการทำงานจริง ขาดประสบการณ์ และตกอยู่ในสภาวะที่กดกัน ท่ามกลางการแข่งขันกับบัณฑิตต่างสถาบันจำนวนมาก คงเป็นเรื่องยากที่จะทำการศึกษาโปรแกรมใหม่ด้วยตนเอง 
     ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า จาวาเป็นโปรแกรมภาษาทางเลือกในปัจจุบันที่บัณฑิตรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ควรศึกษาเพิ่มเติมเป็นภาษาที่ใช้หลักการเชิงวัตถุมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ออกแบบระบบโดยใช้ยูเอ็มแอล (UML) และทำงานร่วมกับฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-oriented Databases) เช่นโอทู(O2) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งภาพ  เสียง ข้อความ ตัวเลข และมัลติมีเดีย รวมถึงคุณลักษณะของวัตถุและคลาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น