วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การพัฒนาโปรแกรมภาษา Java


           ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษา Java ไม่ได้มีแตกต่างจากการพัฒนาโปรแกรมภาษาอื่นมากนัก การพัฒนาโปรแกรมเริ่มต้นจากการเขียนคำสั่งภาษา Java ลงบนเท็กซ์ไฟล์ (Text File) โดยเรียกชุดคำสั่งเหล่านั้นว่า ซอร์สโค้ด (Source Code) และเมื่อสร้างซอร์สโค้ดภาษา Java ขั้นตอนการบันทึกไฟล์ซอร์สโค้ด คือ การบันทึกไฟล์ซอร์สโค้ดนั้นต้องบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .java เท่านั้น

           เมื่อสร้างและบันทึกซอร์สโค้ดเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การคอมไพล์ (Compile) ซอร์สโค้ด การคอมไพล์ซอร์สโค้ด ก็คือ การแปลงซอร์สโค้ดภาษา Java ให้เป็นภาษาเฉพาะที่ตัว JVM เข้าใจโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการคอมไพล์ซอร์สโค้ด เรียกว่า Java Compiler หรือคำสั่ง java.exe ภาษาเฉพาะที่ตัว JVM เข้าใจ นั้นก็คือ Java Byte Code ซึ่ง Java Compiler จะเก็บ Java Bite Code ไว้ในไฟล์ที่มีนามสกุล .class ที่ได้จากการคอมไพล์ .class ไปรันบน JVM ซึ่งขั้นตอนนี้จะถูกทำงานโดย Java Interpreter หรือคำสั่ง javac.exe ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมแสดงได้ดังรูปดังต่อไปนี้


แสดงขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษา Java

          การทำงานของ Java Interpreter จะใช้หลักการทำงานของตัวแปลภาษา (Interoperation) ซึ่งการทำงานของตัวแปลภาษาตัวนี้ คือ จะอ่านคำสั่งจาก Java Byte Code ทีละบรรทัด แล้วทำการแปลคำสั่งชุดนั้นให้เป็น Executable Code แล้ส่งไปให้ CPU ทำการประมวลผล Executable Code ก็คือ ภาษาเครื่องที่ CPU เข้าใจนั่นเอง เมื่อทำงานคำสั่งชุดนั้นเสร็จก็จะกลับมาอ่านคำสั่งในบรรทัดต่อไป แล้วไปแปลงคำสั่งชุดนั้นให้เป็น Executable Code อีก แล้วก็ส่งไปให้ CPU ประมวลผล และจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบโปรแกรม การทำงานแบบนี้ดูแล้วรู้สึกว่าการทำงานนั้นช้าอยู่ แต่มีข้อดีคือ จะทำให้โปรแกรมมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาโปรแกรม เนื่องจากในขณะที่กำลังแปลงอยู่นั้น แล้วเกิดข้อผิดพลาดหรือ Error ที่ไม่ใหญ่หลวงขึ้นมา เครื่องจะอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขโปรแกรมได้ทันที แล้วจึงทำงานในบรรทัดนั้นต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น