วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาจาวา Statement & Comment



Statement & Comment
         จริงๆ แล้ว การเขียนโปรแกรมภาษา Java นั้น มักจะเขียนโปรแกรมเป็นคลาส (Class) ซึ่งในแต่ละคลาสก็จะประกอบไปด้วยเมธทอด (Method) ตัวแปร (Variable) และส่วนประกอบต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งภายในหนึ่งโปรแกรม อาจจะประกอบด้วยคลาสมากกว่า 1 คลาส ขึ้นอยู่กับการออกแบบโปรแกรมของคุณเอง ซึ่งการเขียนโปรแกรมแบบนี้จะเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแล้ว

Statement (สเตจเม็นต์)
         Statement ในโปรแกรมนั้นก็คือ คำสั่งต่างๆ นั้นเอง เช่น การกำหนดค่า การประกาศตัวแปร เป็นต้น และยังมี Statement อีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งจะเรียก Statement แบบนี้ว่า Expression คือ คำสั่งที่เป็นการคำนวณต่างๆ เช่น การบวก ลบ คูณ และหาร เป็นต้น ซึ่ง Expression นี้สามารถที่จะอยู่รวมกับ Statement หรือไม่ก็ได้ ในซอร์สโค้ดของโปรแกรมแต่ละสเตจเม็นต์ปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; ดังนั้นโปรแกรมสามารถเขียนสเตจเม็นต์ได้มากกว่าหนึ่งสเตจเม็นต์ในหนึ่งบรรทัดของซอร์สโค้ด หรือสามารถเขียนสเตจเม็นต์โดยมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดก็สามารถทำได้
int i;
System.out.print("Hello");

Comment (คอมเม็นต์)
คอมเม็นต์มีหลักและรูปแบบการเขียนอยู่สองวิธี กล่าวคือ
             วิธีที่ 1 คอมเม็นต์ส่วนท้ายบรรทัด (สำหรับข้อความยาวไม่เกินหนึ่งบรรทัด)
คอมเม็นต์แบบนี้ใช้กับข้อความที่มีความยาวไม่มากนัก คือสามารถเขียนได้ภายในหนึ่งบรรทัดของซอร์สโค้ด คอมเม็นต์วิธีนี้สามารถเขียนรวมอยู่กับสเตจเม็นต์ในบรรทัดเดียวกันได้
แต่ตัวคอมเม็นต์จำเป็นต้องอยู่ที่ท้ายบรรทัดเท่านั้น
// ข้อความ
             วิธีที่ 2 คอมเม็นต์ส่วนข้อความ (สำหรับข้อความยาวหลายบรรทัด) คอมเม็นต์แบบนี้ถูกใช้สำหรับการเขียนข้อความที่มีความยาวมากๆ ซึ่งสามารถเขียนข้อความได้มากกว่าหนึ่งบรรทัด แต่ก็สามารถใช้กับข้อความสั่นๆได้ด้วยเช่นกัน การเขียนคอมเม็นต์ใช้สัญลักษณ์สองส่วน ประกอบด้วยตัวเปิดข้อความ /* และตัวปิดข้อความ */
รูปแบบ
/* ข้อความ
*/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น