วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาภาษาจาวา



การใช้โปรแกรม Edit Plus
1. Download compiler
       Java 2 Platform, Standard Edition (J2SE) [http://java.sun.com/j2se/1.4/download.html] มีตัวแปรที่หลายบริษัทสร้างขึ้น แต่ตัวที่เป็นมาตรฐานคือของ sun และ java กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผมขอเลือก J2SE ของ sun เพราะใช้งานใน text mode นำไปใช้ใน linux ก็มีหลักการเหมือนกัน แต่
ถ้าเป็นของบริษัทอื่น ส่วนใหญ่ต้องใช้ใน Windows ไม่อย่างยึดติดกับ OS จึงเลือกที่จะใช้ J2SE สอนนักศึกษา แต่บริษัทต่าง ๆ พัฒนาตัวแปลเป็นระบบ IDE (Integrated development environment) ซึ่งใช้ง่ายกว่า ส่วน J2SE แม้ไม่มี IDE ในตัว แต่มีโปรแกรมหลายตัวที่นำมาใช้เป็น editor แล้วเรียก J2SE มาแปล และใช้งานได้สะดวกขึ้น เช่น kawa เป็นต้น

2. เตรียมสภาพแวดล้อม
     2.1 วิธีสร้าง short cut
สร้าง short cut ไว้บน Desk top เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย

    - Right click บน Desk top จะมี pop-up menu ขึ้นมา
    - เลือก New, Short cut
    - พิมพ์ c:\windows\command.com ในช่องว่างที่อยู่เหนือคำว่า Browse..
    - เมื่อกดปุ่ม Next จะแสดงคำว่า MS-DOS Prompt ให้เปลี่ยนเป็นคำว่า JAVA จะได้จำง่ายแล้ว กดปุ่ม Finish
    - ให้ใช้ Mouse วางเหนือ Icon แล้วกดปุ่ม Right click แล้วเลือก Properties จะปรากฏภาพดังด้านล่าง ให้แก้ Working และ Batch file

     2.2 การสร้าง short cut ชื่อ java เรียก c:\windows\command.com บน desktop
หน้าที่ของ short cut นี้คือการเข้าสู่ DOS ทำให้นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมภาษา JAVA ได้โดยง่าย แบบไม่ใช้โปรแกรมช่วยอื่น แต่ใช้โปรแกรมของ Windows ที่เตรียมมาให้เท่านั้น ส่วนนี้ต้องทำหลังจาก install ตัวแปลภาษา J2SDK เรียบร้อยแล้ว
ทุกครั้งที่จะเขียนโปรแกรมให้เรียก short cut นี้ ทำให้มีการ set path ผ่าน setclass.bat อัตโนมัติ และเข้าไปในห้องชื่อ c:\thaiall.com\class ซึ่งกำหนดเป็น working directory สำหรับห้องนี้เป็นห้องที่ผมกำหนดไว้เก็บ .java .class หรือ .htm ทั้งหมดที่เตรียมสำหรับการพัฒนา java สำหรับท่านก็ต้องเปลี่ยนเป็นชื่อห้องที่ท่านคิดจะเก็บ source code ทั้งหมด

2.3 Code ในแฟ้ม setclass.bat (version ของ java ให้เปลี่ยนตามรุ่นที่ท่านมี)
3. เขียนโปรแกรมด้วย editor
        หลักจากเรียก short cut ชื่อ java จะเข้าสู่ DOS mode ให้เรียกโปรแกรมชื่อ edit ซึ่งเป็นโปรแกรมของ dos แล้วตามด้วยชื่อโปรแกรมพร้อมนามสกุลดังตัวอย่าง จากนั้นก็พิมพ์ตัวอย่างโปรแกรมตามด้านล่างนี้เลย ตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็กต้องเหมือนผมนะครับ

หลังพิมพ์โปรแกรมแล้วให้จัดเก็บด้วยการกด Alt-F-S เพื่อจัดเก็บ แล้วออกจากโปรแกรมด้วย Alt-F-X แต่โดยปกติผมจะกดปุ่ม Alt-F-X แล้วโปรแกรมจะถามว่าจัดเก็บหรือไม่ ก็จะตอบว่า Yes ไม่ต้องเรียกเมนู 2 รอบ จากนั้นก็จะออกมาที่ DOS prompt

4. แปลโปรแกรมใน DOS mode
         การแปลโปรแกรมจะพิมพ์คำสั่งง่าย ๆ ดังตัวอย่างข้างล่าง หากการแปลเสร็จสิ้นจะไม่แสดงผลอะไรบนจอภาพ นอกจากขึ้น DOS prompt บรรทัดใหม่ ข้อย้ำอีกครั้งว่า ถ้าแปลผ่านจะไม่แสดงข้อความใด ๆ ให้เห็นนอกจากขึ้น DOS prompt บรรทัดใหม่
ตัวอย่างข้างล่างนี้ แสดงข้อพิดพลาดที่ตัวแปลภาษาพบ โดยปกติคำว่า System.out.println("hello"); คำว่า S จะเป็นพิมพ์ใหญ่ หากมีใครเขียน พิมพ์เล็กก็จะแปลโปรแกรมไม่ผ่าน ตัวอย่างข้างล่างแสดงให้เห็นว่าเขียนโปรแกรมมาไม่ถูก จึงแปลไม่ผ่าน และพบข้อผิดพลาด 1 error

5. สั่งประมวลผล JAVA application
         เมื่อแปลโปรแกรมแล้ว ก็ต้องสั่งประมวลผลโปรแกรมที่ได้มาจากการแปล แฟ้มที่ได้มาจากการแปลคือ prthello.class แต่การสั่งให้โปรแกรมทำงานต้องอาศัยโปรแกรม java.exe เรียก ดังนั้นทุกครั้งที่จะสั่งให้ .class ทำงานต้องเขียนดังข้างล่างนี้ จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ต้องการ

6. การใช้ editplus ช่วยในการเขียน แปล และประมวลผล
         โปรแกรม editplus เป็นเพียง editor มิใช่ compiler แต่เป็นโปรแกรมที่ช่วยเรียก compiler มาแปลโปรแกรมที่กำลังเขียนอยู่ พร้อมกับ run โดยเพิ่มเข้าไปในส่วนของ Tools, Configure User Tools ... ทำให้สามารถเรียกโปรแกรมอื่น มาทำงาน โดยแสดงผลในส่วนของ Output windows ว่าผลการ run หรือ compile เป็นอย่างไร โดยเรียก program ด้วยการกดปุ่ม CTRL+1 หรือ CTRL+2 เป็นต้น... มีตัวอย่างการสร้างปุ่มดังภาพด้านล่าง
# ตัวอย่างนี้ใช้ชื่อห้องเก็บ compiler เป็น c:\java แต่ถ้าเป็นของท่านจะเป็น c:\j2sdk.. พร้อมชื่อเวอร์ชั่น

ตัวอย่างการเรียก applet ผ่าน DOS mode

C:\j2sdk1.4.1_01\bin>appletviewer j1101.java

ถ้าเรียก applet ผ่าน editplus ต้องเพิ่มบรรทีดแรก
//<applet code=j1101 width=200 height=200></applet>
import java.lang.*;
import java.applet.*;
import java.awt.Graphics;
public class j1101 extends java.applet.Applet {
public void paint(Graphics g) {
g.drawString("test",10,20);
}
}

7. โปรแกรมแรกบนมือถือ ด้วย KToolbar และ Jarโปรแกรมนี้ download burin1.jar ไปใช้กับมือถือได้เลย
โปรแกรม java บนมือถือโปรแกรมแรกของผม ทดสอบในคอมพิวเตอร์
1. ติดตั้ง J2ME ให้ได้หลังติดตั้ง J2SDK แล้ว
2. เปิด KToolbar
3. เลือก New project..
4. กรอก burin1 ในช่อง ProjectName
5. กรอก burin1.TextHelloDemo ในช่อง MIDIet Class Name แล้วกดปุ่ม OK
6. Copy source code ด้านล่างไปไว้ใน notepad
7. Save โปรแกรมนี้ชื่อ TextHelloDemo.java ไว้ใน C:\WTK21\apps\burin1\src
8. กดปุ่ม Build
9. กดปุ่ม Run จะเห็นรูปโทรศัพท์มือถือ และคำว่า burin1 ในโทรศัพท์มือถือ
===============
สร้าง jar อ่านจาก C:\WTK21\docs\UserGuide.pdf
พิมพ์ C:\WTK21\apps\burin1\bin>jar cfm burin1.jar manifest.mf -C ..\classes .
ลองคำสั่ง dir ก็จะเห็น burin1.jar เพื่อดูขนาดแฟ้ม พบขนาดเป็น 1656 Byte จำเลขนี้ไว้
10. ใช้ KToolbar open project burin1 ขึ้นมา แล้วเลือก Settings..
11. เลือก Tab ชื่อ Required แล้ว Click ชื่อ MIDlet-Jar-Size เปลี่ยนขนาด 100 เป็น 1656
12. กดปุ่ม Build เพื่อสร้างแฟ้ม burin1.jad ใหม่
===============
นำ .jar และ .jad เข้ามือถือ
13. ต่อสาย datalink กับคอมพิวเตอร์ผ่าน com1
14. เปิด Start, Program, Siemens Data Suite, Mobile
15. เข้าห้อง Mobile\Java\Jam แล้วสร้างห้องชื่อ burin1
16. คัดลอก burin1.jad และ burin1.jar จาก C:\WTK21\apps\burin1\bin\ ไว้ห้อง burin1 ในมือถือ
17. ทดสอบ run โปรแกรมชื่อ burin1 ก็เหมือนกับที่ run ใน KToolbar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น