วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ลักษณะที่ดีของภาษา Java




ภาษา Java ออกแบบให้มีลักษณะที่ดี ดังต่อไปนี้
        1. ภาษา Java เป็นภาษาที่ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน โดยคำที่ว่าง่ายนี้ก็มาจากหลายๆ เหตุผล เช่น ภาษา Java มีคำสั่งและไวยากรณ์ที่คล้ายกับภาษา C และ C++ ผู้ที่เคยเขียนภาษาทั้งสองมาแล้ว จะสามารถเข้าใจภาษา Java ได้ง่ายหรือไม่ก็ใช้เวลาศึกษาไม่นานนัก

        2. โปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วยภาษา Java จะไม่มีความผิดพลาดจากข้อบกพร่องของภาษา หรือโปรแกรมจะต้องไม่มีการล้มเหลวลงด้วยความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยวกับตรรกะของโปรแกรมเอง ด้วยการใช้วิธีการดังนี้
                2.1 ภาษา Java มีกลไก Exception Handing เพื่อให้โปรแกรมสามารถจัดการกับข้อผิดพลาดบางอย่างที่เกิดขึ้นในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงาน เพื่อให้มีการทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องหยุดลงกลางครัน
                2.2 ภาษา Java ได้ตัดกลไกบางอย่างในภาษา C และ C++ ที่อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้หากใช้ไม่ระวัง เช่น Global Variables, คำสั่ง Goto และการอ้างถึง Address ของตัวแปร และการใช้ Pointers สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลในหน่วยความจำโดยตรง
       3. จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาภาษา Java คือ โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้ (Platform Independent) โดยการทำงานของภาษา Java จะทำงานอยู่บน JVM (Java Virtual Machine)

Java Virtual Machine
          โปรแกรมภาษา Java มีการทำงานไม่เหมือนกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่นๆ ซึ่งการทำงานโปรแกรมภาษา Java นั้น ไม่ได้ทำงานบนระบบปฏิบัติการโดยตรง แต่ทำงานบนระบบปฏิบัติการเสมือนหรือเครื่องจักรเสมือน ซึ่งเรียกว่า JVM หรือ Java Virtual Machine
JVM จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรแกรมภาษา Java กับระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษา Java ไม่ว่าจะนำไปทำงานบนระบบปฏิบัติการใดๆ มักจะมองไม่เห็นความแตกต่างของระบบปฏิบัติการที่ทำงานอยู่ เนื่องจากไม่ได้ทำการติดต่อกับระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่จะติดต่อกับ JVM แทน และ JVM จะติดต่อกับระบบปฏิบัติการให้อีกที JVM ในทุกๆ ระบบปฏิบัติการจะมีหน้าตาเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษา Java จึงสามารถนำไปทำงานบนระบบปฏิบัติการใดก็ได้ที่มี JVM อยู่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ JVM เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโปรแกรมภาษา Java นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น